วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

"ซิโก้" เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ตำนานแข้งทีมชาติไทย



เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หรือ “ซิโก้” เป็นชื่อที่คุ้นหูคอฟุตบอลชาวไทยตลอดช่วง 15 ปีมานี้ โดยเจ้าของเสื้อเบอร์ 13 เพิ่งได้รับเกียรติจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จัด “เทสติโมเนียล แมตช์” ในการอำลาสังเวียนแข้งอย่างเป็นทางการไปเมื่อค่ำวันพุธที่ 3 ตุลาคม 2550 โดย เกียรติ ศักดิ์ เสนาเมือง หรือ “เจ้าโก้” เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2516 มีใจรักใน “ฟุตบอล” มาตั้งแต่เด็ก ก่อนตัดสินใจเดินทางจากอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มาตามล่าหาฝันในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2530 และก็ได้โอกาสจากทีมธนาคารกรุงไทย ในปี พ.ศ. 2532 รายการแรกที่ลงสนามฟาดแข้งอย่างเป็นทางการคือ ศึกเยาวชนควีนส์คัพ

ซึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2532-2534 จากการที่ทีมชาติไทยชุดใหญ่ล้มเหลวมาจากซีเกมส์ นายธวัชชัย สัจจกุล หรือ “บิ๊กหอย” สภากรรมการสมาคมฯ สมัยแรก จึงได้ดำเนินโครงการรวบรวมบรรดานักเตะอายุไม่เกิน 19 ปีที่มีทักษะพื้นฐานและความตั้งใจ เพื่อเรียกศรัทธาแฟนลูกหนังชาวไทยให้กลับมาอีกครั้ง ทำให้ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ ถูกเรียกเข้าสู่แคมป์เป็นรุ่นแรก โดยมี นายชัชชัย พหลแพทย์ อดีตทีมชาติไทยชุดโอลิมปิกเม็กซิโก (ค.ศ. 1968) เป็นโค้ชผู้ควบคุมการเก็บตัวฝึกซ้อม สำหรับจุดมุ่งหมายสำคัญของทีมชุดที่ถูกขนานนามว่า “ดรีมทีม” คือ การไปลุยฟุตบอลโอลิมปิก รอบสุดท้าย ณ เมืองแอตแลนตา ประเทศสหรัฐอเมริกา จากจุดนั้นเองตำนาน “ซิโก้ ตีลังกา” กับวงการลูกหนังไทยก็เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย เกียรติศักดิ์ เล่นฟุตบอลสีเสื้อ “นกวายุภักษ์” ธ.กรุงไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2532-38 จากนั้นชีพจรลงเท้าเล่นให้กับ ราชประชา, ตำรวจ, ปะลิส ลีกอาชีพในมาเลเซีย, ฮัดเดอร์ฟิลด์ ทาวน์ ในลีกอังกฤษ, สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ ในเอสลีก สิงคโปร์, ฮอง อันห์ ยาลาย ในวีลีก เวียดนาม และก็ได้ทำงานนักเตะ-ผู้จัดการทีมด้วยในปี พ.ศ.2549 ก่อนมาอยู่กับ บีอีซี เทโรศาสน ยักษ์ใหญ่แห่งศึกไทยแลนด์ลีก ถึงปัจจุบัน


ส่วนผลงานในนามทีมชาติไทยระหว่างปี พ.ศ. 2535-2550 “ซิโก้” ลงเล่นไป 141 นัด ยิงได้ 100 ประตู โดยผลงาน-เกียรติประวัติเด่นๆ ของ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง มีดังนี้ 2536 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 17 ประเทศสิงคโปร์ (สมัยที่ 1) 2537 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 25 ประเทศไทย 2538 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ประเทศไทย (สมัยที่ 2) 2539 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์ 2540 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย (สมัยที่ 3) 2541 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประเทศไทย 2542 แชมป์ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน (สมัยที่ 4) และรางวัลดาวซัลโว 2543 แชมป์คิงส์คัพ ครั้งที่ 31 ประเทศไทย 2543 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย และรางวัล MVP นักเตะทรงคุณค่า 2544 เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกโซนเอเชีย 2545 อันดับที่ 4 การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้ (ปูซาน) 2545 แชมป์ไทเกอร์คัพครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์-อินโดนีเซีย เกียรติยศอื่นๆ 2543 เกียรติประวัติผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทย “คนต้นแบบ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2543 รางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม ESPN 2543 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ESPN 2544 รางวัลดาราเอเชีย 2544 รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 1 2544 รางวัลนักฟุตบอลดีเด่น Sanyo 2546 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2547 รางวัลนักกีฬาต่างชาติยอดเยี่ยม ประเทศเวียดนาม 2548 รับเข็มเกียรติยศผู้ทำคุณประโยชน์แก่ฟุตบอลเวียดนาม จากรัฐมนตรีกีฬาประเทศเวียดนาม

ปัจจุบัน ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อายุ 34 ปี สมรสกับ นางอัสราภา เสนาเมือง มีบุตรด้วยกันสามคนและก็เป็นสามใบเถา นอกเหนือจากการค้าแข้งเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ปัจจุบัน “ซิโก้” ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท สปอร์ต ฮีโร่ จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮองอัน กรุงเทพ จำกัด กิจกรรมเพื่อสังคมโดย “ซิโก้” 2543 โครงการฟุตบอลเพื่อน้อง – การบริจาคอุปกรณ์กีฬาและสื่อการเรียนการสอนแก่นักเรียนในชนบท 2545 รายการโทรทัศน์ซิโก้ทิปส์ - สอนทักษะกีฬาฟุตบอล 2545-ปัจจุบัน คลินิคฟุตบอลซิโก้ทิปส์สัญจร – สอนฟุตบอลแก่เยาชนทั่วประเทศไทย 2547-ปัจจุบัน การจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอายุไม่เกิน 18 ปี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สปอนเซอร์ ซิโก้ ยูธ ทัวร์นาเมนต์ (การแข่งขันจัดขึ้นทุกปี) เพื่อค้นหาช้างเผือกแก่วงการฟุตบอล นอกจากนี้ “ซิโก้” ยังเคยมีงานเขียนผ่านทาง 2544 หนังสือล้านกำลังใจให้ใครคนหนึ่ง 2549 หนังสือ KIATISUK (ฉบับภาษาเวียดนาม) 2549 หนังสือ เสนาเมือง ชีวิตตีลังกา

เปิดตัว ลูกฟุตบอล ยูฟ่าแชมป์เปี้ยนสลีก

เปิดตัว "ลูกบอล" ยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีครอบชิงชนะเลิศแล้ว




ทาง ยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีค ได้เปิดตัวลูกบอลที่จะใช้เตะกันในรอบชิงชนะเลิศ ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ ใครอยากเห็นว่าสวยแค่ไหนตามมาดูกันคะ
ลูกบอลที่ว่านี้ก็ไม่ใช่ยี่ห้ออื่นไกล ADIDAS นั้นเอง ส่วนปีนี้ทาง ADIDAS ได้ออกแบบลูกบอลออกมาดั่งที่เราได้เห็นในรูป โดยทางผู้ออกแบบได้ออกแบบลูกบอลตาม ดาว จากโลโก้ของรายการฟุตบอลบอลยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก และได้อธิบายความหมายไว้ ดังนี้"ภายในสีแดงของดาวจะมีรูปสื่อถึง กุญแจสำคัญในเกมฟุตบอลคือ"-ความเร็ว-ทีมเวอร์ค-ความยุติธรรม-และพลังความฟิตของร่างกาย
ส่วนลูกบอลนี้มีลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ ลูกบอลทำจากหนัง PSC-Texture (คือไรก็ไม่รู้)ที่มีส่วนช่วยให้ผู้เล่นควบคุมการจ่ายและเลี้ยงบอลได้ง่ายขึ้นแม้ในสภาพฝนตก

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประวัติแทมมี่

ประวัติแทมมี่
ข้อมูลส่วนตัว
ประเทศ ไทย
ชื่อเล่น แทมมี่
วันเกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 (อายุ 31 ปี)
สถานที่เกิด ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
ส่วนสูง 165 ซม.
น้ำหนัก 58 กก.
เริ่มเล่นอาชีพพ.ศ. 2537
ถนัดขวา (แบคแฮนด์สองมือ), คอร์ตหญ้า
เงินรางวัลสะสม $2,366,021
ผู้ฝึกสอน พนมกร พลัดเชื้อนิล


แทมมารีนเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของคุณวีระชัย และคุณสุเนตรา ธนสุกาญจน์ มีพี่สาวสองคน และน้องชายหนึ่งคน แทมมารีนเล่นเทนนิสตั้งแต่เด็ก เพราะเล่นเทนนิสกันทั้งครอบครัว
แทมมารีนเริ่มเล่นอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2537 โดยมีบิดาเป็นผู้ฝึกสอน วีระชัยลาออกจากงานประจำ และพาแทมมารีนออกตระเวนแข่งขันในต่างประเทศด้วยทุนส่วนตัว ต่อมาแทมมารีนได้รองชนะเลิศประเภทเยาวชนในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยแพ้ Aleksandra Olsza จากโปแลนด์ 7-5, 7-6 (6) ในรอบชิงชนะเลิศ
แทมมารีนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในการแข่งขันนัดแรกของ สนามอาร์เธอร์ แอช เซ็นเตอร์คอร์ตที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่อาร์เธอร์ แอช นักเทนนิสผิวดำชาวอเมริกันผู้เคยเป็นมือหนึ่งของโลก ช่วงทศวรรษ 1970 ในการแข่งขันยูเอสโอเพ่น 1997 นัดเปิดสนามเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2540 ก่อนการแข่งขันมีการแสดงดนตรีโดยวิทนีย์ ฮิวสตัน เป็นที่คาดหมายกันว่า ผู้เล่นในนัดแรกควรจะเป็นนักเทนนิสผิวดำ คือ วีนัส วิลเลียมส์ และชานดา รูบิน (Chanda Rubin) นักเทนนิสดาวรุ่งสหรัฐ แต่แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลงตารางผู้เล่น จากวิลเลียมส์เป็นแทมมารีนแทน ผลการแข่งขันปรากฏว่า แทมมารีนเอาชนะรูบินได้ 6-4, 6-0 อย่างพลิกความคาดหมาย และกลายเป็นข่าวใหญ่ การแข่งขันครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่แทมมารีนได้เล่นในเซ็นเตอร์คอร์ตของรายการใหญ่ และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก
แทมมารีนเป็นนักเทนนิสที่แม้จะเคลื่อนที่ได้ไม่ว่องไว และเสิร์ฟไม่แรง แต่เธอควบคุมลูกได้แม่นยำ โดยเฉพาะในสนามคอร์ตหญ้า ครั้งหนึ่งเธอเคยทำผลงานได้ดีในรายการเทนนิสวิมเบิลดัน ผ่านเข้ารอบ4 ได้เข้าไปเล่นในสัปดาห์ที่สองติดต่อกันถึง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2541 ถึง 2545 (เว้นปี 2546 ซึ่งตกรอบแรก และทำได้อีกครั้งในปี 2547) ซึ่งเป็นผลงานที่เธอภาคภูมิใจมาก
เธอเคยจับคู่เล่นเทนนิสประเภทคู่กับมาเรีย ชาราโปวา และได้แชมป์ประเภทคู่ 2 รายการ ที่โตเกียว และลักเซมเบิร์ก เมื่อ พ.ศ. 2546 (ในปีนั้น มาเรีย ชาราโปวา ได้แชมป์ทั้งประเภทเดี่ยว และประเภทคู่ ในรายการเจแปนโอเพ่น ที่โตเกียว และเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอแรกในการเล่นอาชีพของชาราโปวา)
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ก่อนการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน แทมมารีนคว้าแชมป์ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเอาชนะ ดินารา ซาฟินา มือวางอันดับ 3 ของรายการ มืออันดับ 9 ของโลก และรองแชมป์เฟรนช์โอเพ่น 2008 ด้วยคะแนน 7-5, 6-3 ซึ่งแทมมารีนเข้าไปเล่นเมนดรอว์ในฐานะผู้เล่นจากรอบคัดเลือก นับเป็นแชมป์ดับเบิลยูทีเอรายการที่สองและเป็นแชมป์แรกบนคอร์ตหญ้า

การเป็นนักเทนนิสชาวไทยคนแรกที่เข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในรายการแกรนด์แสลม ด้วยการเอาชนะเยเลนา แยนโควิช มือวางอันดับ 2 ของรายการ ก่อนไปแพ้ให้กับวีนัส วิลเลียมส์หลังจากนั้นแทมมารีนได้รับเชิญไปแข่งโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งจัดขึ้นที่ปักกิ่ง แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะได้รับการปฏิเสธและไม่มีชื่อของแทมมารีนในรายชื่อตัวสำรอง นับเป็นการเข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 4 ของแทมมารีน

แทมมี่ชนะเชาท์ขาด